กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อนๆอยากทราบไหมครับ ว่าล่าสุดกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามีการอัพเดทบ้างหรือไม่ แอดมินจะมาแชร์กัน

กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อนๆอยากทราบไหมครับ ว่าล่าสุดกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามีการอัพเดทบ้างหรือไม่  แอดมินก็ไม่ลืมที่จะทำการบ้าน ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแวดวงบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง และเพื่อนๆหลายคนอาจสงสัยว่า แท้จริงแล้ว กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ยังมีโทษเหมือนเดิม ที่เราทราบข้อมูลจากข่าวเก่าๆ หรือการบอกต่อกันมา ส่วนข้อมูลที่แท้จริงนั้น วันนี้แอดมินจะมาแชร์เกี่ยวกับบทความนี้กัน 

ข้อมูลนี้ได้มาจากการประกาศจากโฆษกคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ไขข้อข้องใจ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ ผิดกฎหมาย ผู้ครอบครองมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ลักลอบนำเข้าโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายล่าสุดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อนๆอยากทราบไหมครับ ว่าล่าสุดกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามีการอัพเดทบ้างหรือไม่ แอดมินจะมาแชร์กัน

อัตราโทษปรับ

รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในฐานะโฆษก สคบ. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างๆ และการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า การสูบ ครอบครอง นำเข้า ผลิต ขาย ผิดกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน ดังนี้

1. ผู้ขายและผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า: คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เผยแพร่คำสั่งที่ 9/2558 ที่ห้ามขายหรือให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ที่มีสารเคมีอันตรายต่อร่างกาย โดยผู้ใดขายหรือให้บริการดังกล่าว รวมถึงการซื้อเพื่อขายต่อ จะถูกพิจารณาเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

2. ผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า: การนำเข้าบารากู่ และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าถูกห้ามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าอันเป็นอันตราย ผู้ละเมิดจะถูกลงโทษตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และสินค้าอาจถูกริบและทำลาย

3. ผู้ครอบครองหรือรับฝากบุหรี่ไฟฟ้า: บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าห้ามนำเข้า ผู้ครอบครองหรือรับฝากบุหรี่ไฟฟ้า ที่ช่วยจำหน่ายหรือบริการบุหรี่ไฟฟ้า หรือมีการซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด จะถูกพิจารณาว่ามีความผิดตามกฎหมาย และโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

ควรทำอย่างไรหากถูกยึดบุหรี่ไฟฟ้า

หากคุณถูกจับตัวเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าหรือสารเสพติดอื่นๆ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้:

1. อย่าตกใจหรือทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นในสถานการณ์นี้ ความสงบเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับสถานการณ์แบบนี้

2. คุณมีสิทธิในการรับปรึกษาทางกฎหมาย คุยกับทนายความหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายเพื่อรับคำแนะนำและคำปรึกษาในขั้นตอนถัดไป

3. หากคุณถูกต้องว่ามีความผิดตามกฎหมาย อย่ายอมรับความผิดโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากทนายความก่อน อาจจะมีทางที่จะแก้สถานการณ์ให้ดีขึ้น

4. หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นและต้องเสนอข้อแก้ตัวหรือพิจารณาในศาล คุณควรรับปรึกษาจากทนายความเพื่อเตรียมพร้อมและรับคำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมาย.

5. ทำความเข้าใจกฎหมาย รู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีของคุณ การทราบเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของคุณจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

คำแนะนำ

เราจัดอยู่ในกลุ่มผู้ครอบครองและรับฝากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งพูดง่ายๆก็คือผู้ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการสูบ การพกพาไปตามที่ต่างๆหรือในที่สาธารณะ เพื่อนๆจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้รองรับอย่างถูกต้อง แต่ถ้าจะสูบอย่างปลอดภัยจริงๆ ควรจะสู่ที่บ้านหรือในสถานที่ส่วนตัว ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะอยู่ในที่สาธารณะ เพราะนอกจากจะเป็นจุดเด่นของเจ้าหน้าที่แล้ว อาจจะมีคนแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาตรวจค้นบุหรี่ไฟฟ้าของเพื่อนๆ เพราะฉะนั้นแม้ว่าโทษจะไม่ได้หนักหนามากมายก็ควรระวังไว้ดีที่สุด

เพิ่มเพื่อนบนไลน์
error: Content is protected !!