นิโคติน คืออะไร มีโทษและอันตรายอย่างไร

นิโคติน ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนที่ต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการเสพติดสารนิโคติน แล้วนิโคตินคืออะไรไปดู

นิโคติน คือสารเคมีให้โทษชนิดหนึ่งที่พบในกลุ่มยาสูบ เช่น บุหรี่ ซิการ์ ไปป์ ซึ่งมีผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท และมีฤทธิ์การเสพติด เนื่องจากนิโคตินที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนที่ต่อมหมวกไต ทำให้ผู้ป่วยเกิดการเสพติดสารนิโคติน ร่างกายจะต้องการ นิโคติน เพิ่มมากขึ้น จึงมีผลต่อการสูบบุหรี่หรือยาสูบอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด

นิโคตินส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร

เมื่อสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่มีนิโคตินจะมีผลต่อสมองภายในเวลาประมาณ 10 วินาที ส่วนการสูบยาสูบอื่น ๆ เช่น ซิการ์ หรือบุหรี่ไร้ควัน สารนี้จะถูกดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อผิวหนัง เยื่อเมือกภายในจมูกและปาก ซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปยังปอด และออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาท โดยกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนและสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ หรือมีความสุข นอกจากนั้น ยังเป็นผลให้ผู้ที่ได้รับสารนิโคตินอาจมีอาการอย่างความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ขึ้น หรือน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม นิโคตินสามารถส่งผลคลายความกังวล ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หรือง่วงนอนได้ด้วย การออกฤทธิ์ของนิโคตินขึ้นอยู่กับระดับความตื่นตัวของระบบประสาทกับปริมาณนิโคตินที่ถูกเสพเข้าไปด้วย

นิโคติน ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนที่ต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการเสพติดสารนิโคติน แล้วนิโคตินคืออะไรไปดู

พฤติกรรมบ่งชี้ของผู้ที่เสพติดนิโคติน

เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ที่เสพติดนิโคตินจากการใช้ยาสูบต่าง ๆ ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition: DSM-5) ระบุไว้ว่า ผู้ที่เสพติดนิโคตินจะต้องมีพฤติกรรมหรืออาการอย่างน้อย 2 จาก 11 อาการที่ปรากฏภายในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้:

1. สูบในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น หรือสูบติดต่อกันมาเป็นเวลานาน

2. อยากสูบเรื่อย ๆ ไม่สามารถเลิกสูบ หรือไม่สามารถควบคุมปริมาณการสูบให้เป็นตามที่ตั้งใจได้

3. ต้องสูบบุหรี่หรือยาสูบใด ๆ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้อใช้เวลานาน

4. มีความกระหายอยากสูบอย่างมาก

5. สูบบุหรี่บ่อยจนส่งผลเสียต่อบทบาทหน้าที่ในที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้าน

6. ยังคงสูบมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัญหาความสัมพันธ์ทางสังคมอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ เช่น ขัดแย้งกับผู้อื่นเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของตน

7. เลิกหรือลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญทางสังคม เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน หรืองานสังสรรค์รื่นเริงเนื่องมาจากการสูบ

8. ยังคงสูบแม้เป็นสถานการณ์ที่เป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น การสูบบุหรี่บนเตียง

9. ยังคงสูบมาอย่างต่อเนื่อง แม้ทราบว่าการสูบอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ

อาการดื้อต่อสารนิโคติน โดยเกิดอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้:

   – สูบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสนองต่อความอยาก

   – เกิดผลหรือความรู้สึกจากการสูบน้อยลง แม้สูบในปริมาณเท่าเดิม

ภาวะขาดสารนิโคติน โดยเกิดอาการใดก็ตามต่อไปนี้:

    – มีอาการที่เด่นชัดของกลุ่มอาการขาดนิโคติน

    – กลับไปสูบ หรือใช้สารทดแทนนิโคติน เพื่อไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ จากภาวะขาดนิโคติน

    – เลิกสูบ เลิกเสี่ยง เลิกเสพติดนิโคติน

นอกจากสารนิโคตินในบุหรี่และยาสูบ ยังมีสารให้โทษอื่น ๆ อีก เช่น ทาร์ (Tar) หรือน้ำมันดิน และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ที่มีความเสี่ยงและอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่และยาสูบทุกชนิด มีผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

นิโคติน ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนที่ต่อมหมวกไต ทำให้เกิดการเสพติดสารนิโคติน แล้วนิโคตินคืออะไรไปดู

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ชะลอความอยากลง หากกำลังรู้สึกอยากสูบ ให้หันเหความสนใจไปทำสิ่งอื่นแทน เช่น ออกไปนอกบ้าน ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ หรือไปอยู่ในบริเวณที่เป็นเขตปลอดบุหรี่
  • ทำให้ปากไม่ว่าง เคี้ยวหมากฝรั่ง กินถั่ว หรือเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ แทน เพื่อลดความอยากสูบ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่น งานปาร์ตี้ ผับ บาร์ บรรยากาศตึงเครียด
  • อย่าอนุญาตให้ตัวเองกลับไปสูบเพียงเพราะคิดว่าสูบแค่ครั้งเดียว เพราะมีโอกาสสูงที่จะกลับไปสูบอีกเรื่อย ๆ
  • หากิจกรรมทำ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เพื่อลดความอยากสูบ เช่น เดิน วิ่ง ลุกนั่ง วิดพื้น และการออกกำลังกายต่าง ๆ นอกจากนี้ อาจหากิจกรรมที่เป็นงานอดิเรกอื่น ๆ ทำ
  • เรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูบ เช่น การสูดหายใจลึก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด เล่นโยคะ ฟังเพลงเบา ๆ สบาย ๆ ผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น
  • เตือนตัวเองอยู่เสมอ ให้ตระหนักถึงโทษของนิโคติน และประโยชน์จากการเลิกสูบ โดยเฉพาะการมีสุขภาพที่ดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้บุคคลใกล้ชิดปลอดภัยจากพิษของควันบุหรี่มือสอง
  • ขอความช่วยเหลือ เช่น พูดคุยสร้างกำลังใจ รับการสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัว หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเลิกบุหรี่เช่นเดียวกัน ในส่วนของประเทศไทย มีองค์กรที่ช่วยเหลือดูแลและให้บริการด้านการเลิกบุหรี่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐบาล คือ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ซึ่งผู้ที่ต้องการเลิกสูบสามารถโทรสอบถามข้อมูลและความช่วยเหลือได้ที่เบอร์สายด่วน 1600

เทคนิครับมืออาการขาดสารนิโคติน

หลังเลิกสูบ ผู้ป่วยอาจต้องเผชิญอาการต่าง ๆ ในภาวะขาดนิโคติน วิธีการและแนวทางปฏิบัติง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับอาการเหล่านั้นได้ เช่น

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยรักษาบรรเทาอาการซึมเศร้าและเมื่อยล้าจากการขาดสาร แต่ต้องไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอน เพราะอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ โดยควรออกกำลังกายทิ้งช่วงห่างกับเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
  • พักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อขาดนิโคติน ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลีย ควรพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
  • หันเหความสนใจจากการสูบ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปสูบอีก โดยควรหากิจกรรมที่ตนสนใจและสร้างสรรค์ทำ เช่น การผ่อนคลายด้วยการเล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต เดินเล่น หรือตั้งเป้าหมายให้รางวัลตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นต้น
  • อยู่ห่างจากสถานการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ และอยู่ห่างไกลจากผู้ที่กำลังสูบบุหรี่
  • เรียนรู้วิธีรับมือกับความเครียดและการจัดการปัญหา เช่น การทำสมาธิ สูดหายใจลึก ๆ หากิจกรรมที่ผ่อนคลาย

สรุปการรับมือกับอาการถอนนิโคติน

อาการถอนนิโคติน: คือผลการแสดงออกหรือการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเองในการเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ อาจจะด้วยธีการที่ทำเองหรืออาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเองก็ตาม ทุกคนมักจะเจอกับผลกระทบนี้ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ความรู้สึกกระวนกระวายใจหรือการหงุดหงิดง่ายในสถานการณ์ที่พบเจอในแต่ละวันง่ายนั่นเอง  หรือบางคนมีอาการลงแดงหรือมีความใจสั่นอยากสูบบุหรี่ มันจะรู้สึกทรมานหน่อยในคนที่พยายามเป็นอย่างมาก

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการควบคุมตัวเองในเรื่องของอารมณ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการลดหรือเลิกสุบบุหรี่ให้ผ่านไปได้ด้วยดีคือการ ค่อยๆปรับลดสารนิโคตินในการสูบบุหรี่และแน่นอนว่าในบุหรี่มวนนั้นไม่สามารถทำการลดความเข้มข้นของนิโคตินในบุหรี่ที่สูบได้ เลยเกิดเป็นอุปกรณ์ทางเลือกในการสูบบุหรี่ขึ้นมา

นั่นก็คือบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง ที่ตัวน้ำยายบุหรี่ไฟฟ้าสามารถปรับหรือลดความเข้มข้นของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าได้เริ่มจาก 0% – 60% เลยล่ะ ใครชอบนิโคตินเยอะๆก็เข้าทางเลย แต่แอดมินก็ไม่แนะนำให้สูบเยอะขนาดนั้นนะ 

เอาเป็นว่าเพื่อนๆก็ทราบแล้วว่าอาการถอนนิโคตินคืออะไร และต้องรับมือย่างไรเมื่อเราเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ แน่นอนว่าทางออกมีหลายทาง เลือกให้สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นเริ่มต้นที่แล้วนะ

เพิ่มเพื่อนบนไลน์