นิโคติน คือสารเคมีให้โทษชนิดหนึ่งที่พบในกลุ่มยาสูบ เช่น บุหรี่ ซิการ์ ไปป์ ซึ่งมีผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท และมีฤทธิ์การเสพติด เนื่องจากนิโคตินที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีผลทำให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนที่ต่อมหมวกไต ทำให้ผู้ป่วยเกิดการเสพติดสารนิโคติน ร่างกายจะต้องการ นิโคติน เพิ่มมากขึ้น จึงมีผลต่อการสูบบุหรี่หรือยาสูบอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด
นิโคตินส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร
เมื่อสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่มีนิโคตินจะมีผลต่อสมองภายในเวลาประมาณ 10 วินาที ส่วนการสูบยาสูบอื่น ๆ เช่น ซิการ์ หรือบุหรี่ไร้ควัน สารนี้จะถูกดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อผิวหนัง เยื่อเมือกภายในจมูกและปาก ซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปยังปอด และออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาท โดยกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนและสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ หรือมีความสุข นอกจากนั้น ยังเป็นผลให้ผู้ที่ได้รับสารนิโคตินอาจมีอาการอย่างความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ขึ้น หรือน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม นิโคตินสามารถส่งผลคลายความกังวล ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หรือง่วงนอนได้ด้วย การออกฤทธิ์ของนิโคตินขึ้นอยู่กับระดับความตื่นตัวของระบบประสาทกับปริมาณนิโคตินที่ถูกเสพเข้าไปด้วย
พฤติกรรมบ่งชี้ของผู้ที่เสพติดนิโคติน
เกณฑ์การวินิจฉัยผู้ที่เสพติดนิโคตินจากการใช้ยาสูบต่าง ๆ ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition: DSM-5) ระบุไว้ว่า ผู้ที่เสพติดนิโคตินจะต้องมีพฤติกรรมหรืออาการอย่างน้อย 2 จาก 11 อาการที่ปรากฏภายในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้:
1. สูบในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น หรือสูบติดต่อกันมาเป็นเวลานาน
2. อยากสูบเรื่อย ๆ ไม่สามารถเลิกสูบ หรือไม่สามารถควบคุมปริมาณการสูบให้เป็นตามที่ตั้งใจได้
3. ต้องสูบบุหรี่หรือยาสูบใด ๆ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้อใช้เวลานาน
4. มีความกระหายอยากสูบอย่างมาก
5. สูบบุหรี่บ่อยจนส่งผลเสียต่อบทบาทหน้าที่ในที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้าน
6. ยังคงสูบมาอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปัญหาความสัมพันธ์ทางสังคมอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ เช่น ขัดแย้งกับผู้อื่นเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ของตน
7. เลิกหรือลดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญทางสังคม เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงาน หรืองานสังสรรค์รื่นเริงเนื่องมาจากการสูบ
8. ยังคงสูบแม้เป็นสถานการณ์ที่เป็นอันตรายทางกายภาพ เช่น การสูบบุหรี่บนเตียง
9. ยังคงสูบมาอย่างต่อเนื่อง แม้ทราบว่าการสูบอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
อาการดื้อต่อสารนิโคติน โดยเกิดอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้:
– สูบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสนองต่อความอยาก
– เกิดผลหรือความรู้สึกจากการสูบน้อยลง แม้สูบในปริมาณเท่าเดิม
ภาวะขาดสารนิโคติน โดยเกิดอาการใดก็ตามต่อไปนี้:
– มีอาการที่เด่นชัดของกลุ่มอาการขาดนิโคติน
– กลับไปสูบ หรือใช้สารทดแทนนิโคติน เพื่อไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ จากภาวะขาดนิโคติน
– เลิกสูบ เลิกเสี่ยง เลิกเสพติดนิโคติน
นอกจากสารนิโคตินในบุหรี่และยาสูบ ยังมีสารให้โทษอื่น ๆ อีก เช่น ทาร์ (Tar) หรือน้ำมันดิน และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ที่มีความเสี่ยงและอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต ดังนั้น การเลิกสูบบุหรี่และยาสูบทุกชนิด มีผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ชะลอความอยากลง หากกำลังรู้สึกอยากสูบ ให้หันเหความสนใจไปทำสิ่งอื่นแทน เช่น ออกไปนอกบ้าน ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ หรือไปอยู่ในบริเวณที่เป็นเขตปลอดบุหรี่
- ทำให้ปากไม่ว่าง เคี้ยวหมากฝรั่ง กินถั่ว หรือเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ แทน เพื่อลดความอยากสูบ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ไม่อยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่น งานปาร์ตี้ ผับ บาร์ บรรยากาศตึงเครียด
- อย่าอนุญาตให้ตัวเองกลับไปสูบเพียงเพราะคิดว่าสูบแค่ครั้งเดียว เพราะมีโอกาสสูงที่จะกลับไปสูบอีกเรื่อย ๆ
- หากิจกรรมทำ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เพื่อลดความอยากสูบ เช่น เดิน วิ่ง ลุกนั่ง วิดพื้น และการออกกำลังกายต่าง ๆ นอกจากนี้ อาจหากิจกรรมที่เป็นงานอดิเรกอื่น ๆ ทำ
- เรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายความเครียด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูบ เช่น การสูดหายใจลึก ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวด เล่นโยคะ ฟังเพลงเบา ๆ สบาย ๆ ผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น
- เตือนตัวเองอยู่เสมอ ให้ตระหนักถึงโทษของนิโคติน และประโยชน์จากการเลิกสูบ โดยเฉพาะการมีสุขภาพที่ดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้บุคคลใกล้ชิดปลอดภัยจากพิษของควันบุหรี่มือสอง
- ขอความช่วยเหลือ เช่น พูดคุยสร้างกำลังใจ รับการสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัว หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเลิกบุหรี่เช่นเดียวกัน ในส่วนของประเทศไทย มีองค์กรที่ช่วยเหลือดูแลและให้บริการด้านการเลิกบุหรี่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐบาล คือ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ ซึ่งผู้ที่ต้องการเลิกสูบสามารถโทรสอบถามข้อมูลและความช่วยเหลือได้ที่เบอร์สายด่วน 1600
เทคนิครับมืออาการขาดสารนิโคติน
หลังเลิกสูบ ผู้ป่วยอาจต้องเผชิญอาการต่าง ๆ ในภาวะขาดนิโคติน วิธีการและแนวทางปฏิบัติง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับอาการเหล่านั้นได้ เช่น
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยรักษาบรรเทาอาการซึมเศร้าและเมื่อยล้าจากการขาดสาร แต่ต้องไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอน เพราะอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ โดยควรออกกำลังกายทิ้งช่วงห่างกับเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ เมื่อขาดนิโคติน ร่างกายจะมีอาการอ่อนเพลีย ควรพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟู
- หันเหความสนใจจากการสูบ เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปสูบอีก โดยควรหากิจกรรมที่ตนสนใจและสร้างสรรค์ทำ เช่น การผ่อนคลายด้วยการเล่นเกม เล่นอินเทอร์เน็ต เดินเล่น หรือตั้งเป้าหมายให้รางวัลตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นต้น
- อยู่ห่างจากสถานการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ และอยู่ห่างไกลจากผู้ที่กำลังสูบบุหรี่
- เรียนรู้วิธีรับมือกับความเครียดและการจัดการปัญหา เช่น การทำสมาธิ สูดหายใจลึก ๆ หากิจกรรมที่ผ่อนคลาย
สรุปการรับมือกับอาการถอนนิโคติน
อาการถอนนิโคติน: คือผลการแสดงออกหรือการรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของจิตใจตัวเองในการเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ อาจจะด้วยธีการที่ทำเองหรืออาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเองก็ตาม ทุกคนมักจะเจอกับผลกระทบนี้ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ความรู้สึกกระวนกระวายใจหรือการหงุดหงิดง่ายในสถานการณ์ที่พบเจอในแต่ละวันง่ายนั่นเอง หรือบางคนมีอาการลงแดงหรือมีความใจสั่นอยากสูบบุหรี่ มันจะรู้สึกทรมานหน่อยในคนที่พยายามเป็นอย่างมาก
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ง่ายที่สุดในการควบคุมตัวเองในเรื่องของอารมณ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการลดหรือเลิกสุบบุหรี่ให้ผ่านไปได้ด้วยดีคือการ ค่อยๆปรับลดสารนิโคตินในการสูบบุหรี่และแน่นอนว่าในบุหรี่มวนนั้นไม่สามารถทำการลดความเข้มข้นของนิโคตินในบุหรี่ที่สูบได้ เลยเกิดเป็นอุปกรณ์ทางเลือกในการสูบบุหรี่ขึ้นมา
นั่นก็คือบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง ที่ตัวน้ำยายบุหรี่ไฟฟ้าสามารถปรับหรือลดความเข้มข้นของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าได้เริ่มจาก 0% – 60% เลยล่ะ ใครชอบนิโคตินเยอะๆก็เข้าทางเลย แต่แอดมินก็ไม่แนะนำให้สูบเยอะขนาดนั้นนะ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆก็ทราบแล้วว่าอาการถอนนิโคตินคืออะไร และต้องรับมือย่างไรเมื่อเราเข้าสู่กระบวนการเลิกบุหรี่ แน่นอนว่าทางออกมีหลายทาง เลือกให้สิ่งที่เราสามารถทำได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นเริ่มต้นที่แล้วนะ
สั่งซื้อพอต กับ KS Pod BKK
พอตแบบ Relx : Next Pro 2 Beyond ,Infy Device ,Relx Infinity ,Relx Infinity Plus ,Relx Infinity 2 ,Relx Artisan ,KS Lumina ,Jues Device ,Jues Marvelues ,Waka soMatch Mini ,Infy Cube Box ,Jues Devine ,Relx Mini Device
หัวพอตแบบ Relx : INFY PLUS POD 2.5 ML ,Relx Infinity Pod ,Relx Pod Pro 2 ,Relx Infinity 2 Pods ,INFY Pod ,Jues Pod Plus+ ,KS Lumina Pod ,Marbo Zero Pod ,NEXT Pro 2 Pod ,WAKA soMatch Mini Pod ,Dooze Pod ,Jues Pod ,VMC SEOUL Pod ,7-11 Pod ,VMC Pod 2.5ML ,Vazer One Pod ,7-11 Pod 2.5 ml ,Relx Pod Real
พอตใช้แล้วทิ้ง : VMC 5000 Puffs ,KS Quik 2000 Puffs ,KS Quik 5000 Puffs ,Jues 5000 Puffs ,Jues 10000 Puffs ,PLAYBAR 10000 Puffs ,NEXT 6000 Puffs ,INFY 6000 Puffs ,Marbo Bar 9000 Puffs ,VMC 12000 Puffs ,Dubai Vape 10000 Puffs ,Hyperbar Ultra 12000 Puffs ,SNOWWOLF EASE 8000 Puffs ,KS ARTISAN 5000 Puffs ,Zlurpee 8000 Puffs ,Waka soMatch 6000 Puffs ,Relx Crush 6000 puffs ,Jues Nova 10000 Puffs ,Vazer 9000 Puffs ,Lana Airship 10000 Puffs ,Hyperbar PX 20000 Puffs ,SnowWolf Lucky Legend 25000 Puffs ,Vipo Chic 10000 Puffs ,HQD WAPOR PRO 20000
พอตจมูก : Vipo bar 5000 Puffs ,Vipo bar Pod 6000 Puffs ,Vipo bar Pod Max 1000 Puffs ,Vipo VB Cube 12000 Puffs